

02 | วิธีการคิดและกระบวนการผลิตงาน 14/01/12
เราใช้วิธีคิดงานแบบนักวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นงานออกแบบ กล่าวคือมีการตั้งโจทย์ จากนั้นจึงทําการทดลองและหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา จุดเริ่มต้นโดยส่วนมากนั้นเริ่มจากโจทย์ที่มาจากแรงบรรดาลใจต่างๆ ซึ่งถูกเราหยิบยกมาร่างแบบ กําหนดกฎเกณฑ์และข้อจํากัดต่างๆเพื่อไม่ให้ชุดอักษรที่ทําออกมานั้นหลุดออกนอกรอบแนวคิดที่ตั้งไว้ แต่ก็มีในบางครั้งที่ต้องผ่อนปรนหากข้อกําหนดที่ตั้งขึ้นมาไม่เอื้อให้กับการสร้างชุดตัวอักษรในเชิงสุนทรียะ ต่อมาเราทําการนําแบบร่างทั้งหมดมากองดูเพื่อปรับชุดอักษรให้เข้ากันคร่าวๆ ก่อนที่จะถ่ายทอดตัวอักษรทั้งหมดลงสู่ระบบดิจิทัลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเป็นฟอนต์ โดยมีการกําหนดความสูงกว้างตัวอักษร ระยะช่องไฟ ระยะช่องไฟพิเศษระหว่างตัวอักษรเฉพาะ ตําแหน่งของวรรณยุกต์และสระ เพิ่มเติมด้วยช่องสัญลักษณ์ที่จําเป็น จากนั้นเราจึงนําฟอนต์ทั้งหมดที่ได้มาลองประกอบเป็นชุดคําคร่าวๆจากนั้นทําการปรับใหญ่อีกครั้งเพื่อความกลมกล่อมของชุดอักษร
ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิด เป็นเรื่องปกติในการที่ผู้ผลิตจะตรวจสอบคุณภาพสินค้าในระหว่างที่ผลิตและก่อนจัดจําหน่ายในการทําฟอนต์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราจึงทําการสร้างแบบทดสอบเพื่อตรวจสอบคุณภาพตัวอักษรของเราเองขึ้นมาโดยปกติฟอนต์ต้นแบบจะถูกตรวจสอบจากชุดทดสอบทั้งหมด 58 ชุด โดยจะมีการแก้ไขจุดพร่องเรื่อยๆจนสมบูรณ์เพื่อให้แน่ใจในคุณภาพของฟอนต์เราที่ผลิตออกไป ชุดทดสอบนี้ยังเป็นอีกปัจจัยที่แยกลักษณะของงานในแต่ละที่ให้ต่างกันในเชิงคุณภาพ แต่ละที่ล้วนมีวิธีการตรวจสอบเพื่อให้ฟอนต์ออกมาได้เข้ากับจริตของตนแตกต่างกัน การทดสอบจึงถือเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้การขึ้นตัวอักษร